วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

โรคที่เกิดในชวนชม

โรคที่เกิดจากดิน

โรคพืชที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารในดิน






































พืชต้องการธาตุอาหารทั้งหมด 16 ชนิด ในจำนวนนี้ 3 ชนิด
คือ ออกซิเจน, ไฮโดรเจน และคาร์บอน
พืชได้รับจากอากาศ ที่เหลืออีก 13 ชนิดได้จากดิน คือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม,
ซัลเฟอร์, แคลเซียม, แมกนีเซียม, เหล็ก, มังกานีส, ทองแดง, สังกะสี, โบรอน, โมลิบดีนัม และคลอรีน จาก 13 ชนิดนี้ 6 ชนิดแรก เป็นธาตุที่พืชต้องใช้ในปริมาณมากจึงจัดเป็นกลุ่ม macro หรือ major nutrients ส่วนที่เหลือพืชต้องการในปริมาณเล็กน้อยจึงจัดเป็นกลุ่ม trace หรือ minor elements การที่พืชจะเจริญได้เป็นปกตินั้นจำเป็นจะต้องมีธาตุอาหารทั้ง 16 ชนิด อยู่ในระดับที่เหมาะสม การขาดหรือมีธาตุใดธาตุหนึ่งมากเกินไปจะทำให้พืชเกิดความผิดปกติขึ้นได
ลักษณะสำคัญของอาการที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารในดิน

1. อาการมักจำกัดอยู่กับเฉพาะใบที่มีช่วงอายุใกล้เคียงกัน เช่น ใบส่วนยอด, กลางลำต้น หรือเฉพาะใบล่าง
2. อาการที่เกิดมีลักษณะสมมาตย์ คือเหมือนกันทั้งใบซีกซ้ายและขวา และมักเกิดรอบ ๆ เส้นใบ
3. พัฒนาการของอาการ เช่น การเปลี่ยนสีของใบจะเป็นไปอย่างช้า ๆ
4. ในกรณีของอาการใบด่าง ขอบเขตของรอยด่างจะไม่ชัดเจนซึ่งจะต่างจากอาการด่างจาก ไวรัส หรือพิษจากสารเคมีที่มักเห็นขอบเขตของรอยด่างชัดเจน
5. ในกรณีที่มีการตายของเนื้อเยื่อ รูปร่างของแผลมักจะไม่เป็นเหลี่ยม อาการแผลเป็นเหลี่ยมมักเกิดจากการทำลายของเชื้อราหรือแบคทีเรีย
6. อาการมักเริ่มจากเนื้อเยื่อที่อยู่ห่างจากเส้นใบมากที่สุด แล้วจึงลุกลามเข้าใกล้เส้นใบ
................................................................................................................................................

โรคเหี่ยวเขียว  

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum

ลักษณะอาการ

เริ่มต้นจากอาการสลด ใบลู่ลงเหมือนอาการขาดน้ำของพืช แต่เมื่อให้นำไปหนักๆ
หลังจากนั้น 2-3 วัน ต้นที่เป็นโรคจะแสดงอาการเหี่ยวอย่างเห็นได้ชัด เมื่อดูที่รากก็ไม่มีการเน่า ตัดรากดูก็ไม่เน่า โดยที่ใบของลำต้นนั้นยังมีสีเขียวอยู่ และต้นที่เป็นโรคจะตายในที่สุด หากรักษาไม่ทัน
ข้อมูลอื่นๆ

เชื้อนี้สามารถมีชีวิตอยู่และขยายพันธุ์ได้ในดินและในน้ำ
เราจึงพบว่าการเกิดจะเป็นบางต้นเท่านั้น การแพร่กระจายของโรคส่วนใหญ่มักจะแพร่กระจายไปตามน้ำ ทำให้มองเห็นว่าการเกิดโรคมักจะเกิดเป็นหย่อมๆ และขยายเป็นวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ในสภาพดินที่มีความชื้อสูง การเกิดโรคจะมากและมีการระบาดรวดเร็ว

การป้องกันและกำจัด

1. เมื่อพบต้นเป็นโรคถอนออกเผาทำลาย ห้ามทิ้งลงน้ำโดยเด็ดขาด
2. ปล่อยให้ดินบริเวณนั้นถูกแดดจัด
3. ปรับวิธีการให้น้ำอย่าให้ไหลจากบริเวณที่เป็นโรคไปยังต้นอื่นๆ


....................................................................................................................................................................................... 
โรคฝักเหี่ยวแห้ง








................................... 
 โรคฝักเหี่ยวแห้ง

      สาเหตุของโรคพืชเนื่องจากปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่
      การขาดแร่ธาตุอาหาร การได้รับพิษจากสารเคมีมากเกินไป
      ความเสียหายเนื่องจากพืชได้รับอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป
      ความแห้งแล้ง อากาศร้อน เป็นต้น อาการผิดปกติเนื่องจาก
     สาเหตุเหล่านี้ บางครั้งพืชแสดงอาการคล้ายกันกับโรคติดเชื้อ
     เช่น อาการขาดแร่ธาตุบางชนิด แสดงอาการซีดเหลือง
      คล้ายกับที่เกิดจากเชื้อไวรัส และมายโคพลาสมา
      และอาการเป็นพิษจากสารเคมีที่ทำให้เกิดแผล
      คล้ายที่เกิดจากเชื้อรา เป็นต้น ทำให้เกิดการสับสนได้
      จึงมีความจำเป็นต้องทำการตรวจวินัจฉัยอย่างละเอียดก่อน
      สรุปว่าเกิดจากสาเหตุใดแน่





      การขาดแร่ธาตุอาหารในพืช
     เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

     พืชจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารเมื่อสภาพดินที่ปลูก
     ขาดแร่ธาตุชนิดนั้นๆ หรืออยู่ในสภาพที่พืชไม่สามารถ
    นำไปใช้ได้เนื่องจากสภาพความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม
     ลักษณะอาการพืชที่ขาดธาตุบางชนิดอาจสรุปได้ดังนี้
     ขาดธาตุไนโตรเจน พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งต้น
     เริ่มจากใบล่างก่อน ขาดธาตุฟอสฟอรัส พืชเจริญเติบโตช้า
     ใบมีสีเขียวเข้มหรือม่วงบริเวณใบล่าง ๆ ลำต้นมียอดสั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น